พิธีพระราชทานเพลิงศพ

พิธีพระราชทานเพลิงศพ

หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพ
 ผู้มีสิทธิได้รับพระราชทานนำ้หลวงอาบศพ เพลิงหลวง และหีบเพลิง ต้องมีต้าแหน่งชัน และยศ ดังต่อไปนี้
๑. พระสมณศักดิ์ ตั้งแต่ชั้น “พระครูสัญญาบัตร” ขึ้นไป
๒. พระราชวงศ์ ตังแต่ชัน “หม่อมเจ้า” ขึ้นไป
๓. ผู้ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
๔. ข้าราชการพลเรือนตังแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป
๕. ข้าราชการฝ่ายทหาร ตำรวจ ยศชันร้อยตรีขึ้นไป 
๖. พนักงานเทศบาลตังแต่ระดับ ๓ ขึ้นไป
๗. ผู้ท่ีได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตังแต่ “เบญจมดิเรกคุณาภรณ์” (บ.ก.) และเบญจมาภรณ์มงกุฎไทย” (บ.ม.) ขึนไป
๘. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “จุลจอมเกล้า” (จ.จ.) หรือ “ตราสืบตระกูล”(ต.จ.) ขึนไป
๙. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์เหรียญ “รัตนาภรณ์”รัชกาลปัจจุบัน
๑๐. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ สมาชิกสภาจังหวัด สมาชิกสภาเทศบาลที่ถึงแก่กรรมในขณะดำรงตำแหน่ง
๑๑. รัฐมนตรี
๑๒. ผู้ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นกรณีพิเศษ
 
หลักเกณฑ์การขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณพิเศษ
ผู้ที่สมควรได้รับการพิจารณา ในการขอพระราชทานเพลิงศพเป็นกรณีพิเศษ ควรอยู่ในหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี
๑. ผู้ที่อยู่ในราชสกุล ชั้นหม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวง
๒. พระสงฆ์ที่พระราชาคณะพิจารณาขอพระราชทานให้
๓. พนักงานรัฐวิสาหกิจระดับสูง
๔. ผู้ที่ได้รับพระราชทานเหรียญราชรุจิ เหรียญกล้าหาญและเหรียญชัยสมรภูมิ
๕. ผู้ที่ทำประโยชน์ให้กับประเทศชาติ เช่น ศิลปินแห่งชาติ นักกีฬาระดับชาติ อดีตสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎร
อดีตสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญอดีตสมาชิกสภาจังหวัดหรืออดีตสมาชิกสภาเทศบาล
๖. ผู้ที่ทำคุณประโยชน์ เช่น บริจาคเพื่อการกุศลคิดเป็นมูลค่า ไม่น้อยกว่า ๓๐๐,๐๐๐ บาท บริจาคร่างกาย หรืออวัยวะ
๗. บิดามารดาของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ระดับ ๖ ขึ้นไป หรือเทียบเท่าขึ้นไป
๘. บิดามารดาของผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ “ตริตาภรณ์ช้างเผือก” (ต.ช.) ขึนไป ๙. บิดามารดาของพระสมณศักดิ์ ตังแต่ชั้น “พระครูสัญญาบัตร” ขึ้นไป
๑๐. บิดามารดาของข้าราชการทหาร ตำรวจ ตั้งแต่ระดับพันโท นาวาโท นาวาอากาศโท และพันตำรวจโทขึ้น ไป
 
- หมายเหตุ บุคคลผู้ทำลายชีพตนเอง และผู้ต้องอาญาแผ่นดิน ไม่พระราชทานเพลิงและเครื่องประกอบ
 
ขั้นตอนการขอพระราชทานเพลิงศพ
1. ส่วนกลาง/ปริมณฑล (กรณบิดามารดารับราชการมาก่อน ให้ใช้สิทธิจากต้นสังกัดเดิมของบิดามารดาก่อน) สามารถดำเนินการทางเรื่องได้ที่กลุ่มสวัสดิการและเจ้าหน้าที่สัมพันธ์ กองการเจ้าหน้าที่
เจ้าภาพหรือผู้ขอยื่นเอกสารขอพระราชทานเพลิงศพ (อย่างละ 2 ฉบับ) ดังนี้
1. แบบฟอร์มขอพระราชทานเพลิงศพ (กลุ่มสวัสดิการฯ)
2. สำเนาใบมรณบัตรหรือหนังสือรับรองการตาย
3. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ (เจ้าภาพและผู้วายชนม์) 
4. สเนาทะเบียนบ้านของผู้วายชนม์(ต้องประทับ “ตาย” จากหน่วยงานที่รับแจ้งการตาย) 
5. สำเนาทะเบียนบ้านของเจ้าภาพหรือผู้ขอ
6 .สำเนาประกาศนียบัตรกำกับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ดิเรกคุณากรณ์(ถ้ามี)
7. เอกสารอื่น ๆ (ถ้ามี) เช่น ใบแจ้งความ ใบเปลี่ยนชื่อ ฯลฯ
 
หมายเหตุ โปรดลงนามรับรองสำเนาถูกต้องในเอกสารทุกฉบับ
เมื่อท่านอธิบดลงนามในหนังสือแล้ว เจ้าภาพหรือผู้ขอ สามารถนำเอกสารติดต่อที่กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง ในพระบรมมหาราชวัง

 

นิราลัยรับจัดงานศพ หากท่านอยู่ในระหว่างเสียใจ หรือไม่รู้ว่าขั้นตอนการขอพระราชทานงานศพ หรือจัดงานราชพิธีต้องทำอย่างไรบ้าง
เรามีเจ้าหน้าที่ช่วยแนะนำ
รวมถึง บริการ เคลื่อนย้ายศพ จองศาลา ติดต่อวัด เตรียมอุปกรณ์ที่จำเป็นในงานศพ ดำเนินพิธีการต่างๆของงานศพ รดน้ำศพ สวดอภิธรรม
อยู่เคียงข้างท่านจนถึง วันลอยอังคาร ออกสุสาน หรือเก็บอัฐิ
ให้เราดูแลคุณดุจญาติ
สนใจติดต่อสอบถาม
นิราลัย 091-887-2038, 090-978-4128
lineID : @nirarai
 
 


บทความที่เกี่ยวข้อง

4 เหตุผลที่คุณควรใช้บริการออร์แกไนซ์รับจัดงานศพ
4 เหตุผลที่คุณควรใช้บริการออร์แกไนซ์รับจัดงานศพ

แม้บริการออร์แกไนซ์รับจัดงานศพ จะเป็นบริการที่หลายคนไม่อยากนึกถึง เนื่องจากการสูญเสียเป็นสิ่งที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตนเอง และคนรอบข้าง แต่ความตายคือสัจธรรมของชีวิต

อ่านเพิ่มเติม
ขั้นตอนการติดต่อต่างๆ เมื่อมีผู้เสียชีวิตที่ รพ.
ขั้นตอนการติดต่อต่างๆ เมื่อมีผู้เสียชีวิตที่ รพ.

ขั้นตอนการติดต่อต่างๆ เมื่อมีผู้เสียชีวิตที่ รพ.

อ่านเพิ่มเติม
พิธีพระราชทานเพลิงศพ
พิธีพระราชทานเพลิงศพ

หลักเกณฑ์ในการขอพระราชทานเพลิงศพ ใครสามารถได้บ้าง และทำอย่างไร

อ่านเพิ่มเติม